ใน อดีตกว่า 30 ปี ที่ผ่านมาบริษัทฯ มีการผลิตเกลือสินเธาว์แบบแปลงนาตาก คล้ายกับการทำเกลือทะเล ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะมีการยกเลิกการผลิตเกลือแบบเก่ามานานนับ 20 ปี แล้วก็ตาม แต่สภาพปัญหาดินเค็ม และดินเสื่อมโทรมก็ไม่สามารถจางหายไปกับกาลเวลาได้
สภาพปัญหาทางสิ่งแวดล้อม
การแพร่กระจายของดินเค็ม
สภาพดินเสื่อมโทรม ไม่สามารถทำการเกษตรได้
ความพยายามในการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็มของ บริษัท เกลือพิมาย จำกัด
บริษัทฯ พยายามทำการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มโดยรณรงค์ให้พนักงานของบริษัทฯ ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ และปลูกหญ้าบนพื้นที่ดินเค็มของบริษัทฯ นับแต่ปี พ.ศ.2541-2545
พยายามในการแก้ไขปัญหาดินเค็มโดยการเติมอินทรียวัตถุให้กับดิน
ความพยายามได้ประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง เนื่องจากการแก้ไขปัญหาพื้นที่ดินเค็มนั้นยาก ต้องใช้ต้นทุนสูง รวมทั้งต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านหลักวิชาการเข้ามาช่วย
ต่อมา ปลายปี พ.ศ.2545 บริษัทฯ พบว่าศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(BIOTEC) มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์พืชดินเค็ม บริษัทฯ จึงได้ขอคำปรึกษา เกิดเป็นโครงการร่วมทดลองวิจัยการฟื้นฟูพื้นที่ดินระหว่างบริษัท เกลือพิมาย จำกัด กับศูนย์พันธุวิศกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ขึ้น โดยได้แบ่งโครงการทดลองวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. โครงการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มโดยการปลูกต้นไม้ทนเค็ม พื้นที่โครงการ 50 ไร่ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546-2548
รายละเอียดโครงการ
การสำรวจ และกำหนดพื้นที่โครงการ
พื้นที่โครงการ | เก็บตัวอย่างดินเค็ม |
การปรับโครงสร้างดินเค็มทางกายภาพ ทำคันดินและขุดร่องรับน้ำเค็ม
การปรับคันดินและร่องรับน้ำเค็ม | การล้างความเค็มด้วยผงยิบซัม |
การติดตั้งระบบให้น้ำพืช | ระบบท่อน้ำหยด |
การปรับสภาพโครงสร้างทางชีวภาพของดินเค็ม ก่อนการปลูกพืช
การใช้อินทรียวัตถุเติมลงในดิน | การใช้แกลบและปุ๋ยคอกบำรุงดิน |
การปลูกโสนเป็นพืชบำรุงดินก่อนการปลูกต้นไม้ทนเค็ม
เมล็ดโสนเริ่มงอก | ต้นโสนเริ่มออกดอก |
ต้นโสนออกดอกและติดเมล็ด
การปลูกต้นไม้ทนเค็ม
กรรมการผู้อำนวยการบริษัท เกลือพิมาย จำกัด ดร.ธีระพร ศรีเฟื่องฟุ้ง นายอำเภอพิมาย คุณทองสุข ปริธรรมมา รองผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ คุณดรุณี เอ็ดเวิร์ด คุณอรุณ อินเจริญศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงงานบริษัท เกลือพิมาย จำกัด และ ดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์พืชดินเค็ม ร่วมพิธีปลูกต้นไม้ทนเค็ม เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547
คณะผู้บริหารร่วมพิธีปลูกต้นไม้ทนเค็ม | คุณอรุณ อินเจริญศักดิ์ ผอ.โรงงาน กล่าวรายงาน |
คุณดรุณี เอ็ดเวิร์ด รอง ผอ.BIOTEC | ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชดินเค็ม |
คุณทองสุข ปริธรรมมา นายอำเภอพิมาย | นายอรุณ อินเจริญศักดิ์ และคุณดรุณี เอ็ดเวิร์ด |
พนักงานบริษัท เกลือพิมาย จำกัด ร่วมกันปลูกต้นไม้ทนเค็ม
ต้นไม้ทนเค็มภายหลังการปลูก 1-2 ปี
2. โครงการ ฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม โดยการทดลองพัฒนาวิธีปลูกข้าวและพัฒนาพันธุ์ข้าวทนเค็มบนพื้นที่โครงการ 5 ไร่ ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2551
รายละเอียดโครงการ
การเตรียมแปลงนา
เปิดผิวซิเมนต์ออกแบบคันนา | ไถพรวนเตรียมดินก่อนปลูก |
เตรียมแปลงเพาะเมล็ด | ต้นกล้าเริ่มงอก |
พิธี ปักดำนา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 โดยท่านนายอำเภอพิมาย คณะผู้บริหารบริษัท เกลือพิมาย จำกัด ผู้บริหารศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และผู้นำชุมชน ร่วมกันปักดำนาข้าวหอมมะลิบนพื้นที่ดินเค็ม
ผลผลิตจากการทดลองปลูกข้าวหอมมะลิบนพื้นที่ดินเค็ม
ต้นข้าวหอมมะลิออกรวงใกล้ถึงเวลาเกี่ยว
ดร.บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง ประธานกรรมการบริษัทฯ นายอำเภอทองสุข ปริธรรมมา ดร.ธีระพร ศรีเฟื่องฟุ้ง และผู้นำชุมชนเตรียมลงเกี่ยวข้าว
ดร.บุญทรง ศรีเฟื่องฟุ้ง คุณอรุณ อินเจริญศักดิ์ | คุณดาราณี อัตตะนันท์ |
การปลูกข้าวหอมมะลิบนพื้นที่ดินเค็ม ปี พ.ศ.2549
การเพาะต้นกลางแปลงพัฒนาพันธุ์ข้าวทนเค็ม ใช้วิธีเพาะบนถาดเพาะเมล็ด | การเพาะต้นกล้าแปลงพัฒนาวิธีปลูกข้าวหอมมะลิ ใช้วิธีเพาะลงในแปลงเพาะต้นกล้า |
เมื่อต้นกล้าเริ่มโตมีอายุประมาณ 20 วัน ให้นำต้นกล้าลงปรับสภาพบนแปลงนาก่อนนำไปปักดำ | เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 1 เดือน ให้ถอนต้นกล้าลงไปปักดำบนแปลงนา |
ต้นกล้าแปลงพัฒนาพันธุ์ข้าวหลังปักดำ 1 เดือน | ต้นกล้าแปลงพัฒนาวิธีปลูกหลังปักดำ 1 เดือน |
ต้นข้าวเริ่มตั้งท้องใกล้ออกรวง | ต้นข้าวเริ่มแตกกอและใกล้ตั้งท้อง |
ต้นข้าวออกรวงใกล้ถึงเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดแล้ว
ดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านพืชดินเค็มทำการเก็บตัวอย่างต้นข้าวเพื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณการดูดซับเกลือของพืช
น้ำเค็มที่เกิดจากการล้างหน้าดินและระบายออกแปลงปลูกข้าวจะถูกสูบกลับไปใช้ในการผลิตยังโรงงานผลิตเกลือแบบใหม่ต่อไป
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มโดยการปลูกต้นไม้ทนเค็มและทดลองพัฒนาวิธีปลูกและ พัฒนาพันธุ์ข้าวทนเค็มบนพื้นที่โครงการซึ่งมีค่าระดับความเค็มก่อนการ ฟื้นฟูกว่า 4 % เกลือ ภายหลังการทดลอง 3 ปี พบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีระดับความเค็มลดลงเหลือประมาณ ไม่เกิน 1 % เกลือ ซึ่งเป็นระดับที่สามารถทำการเกษตรได้
กราฟแสดงความเค็มของดินตัวอย่าง
กราฟแสดงการลดลงของระดับความเค็ม